keyword การบริหารวิชาการ
รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะสาขาบริหารการศึกษา
The Development of Competency Based Curriculum of Education Adminstration
Name: กานต์ อัมพานนท์
Address: 83 ม.11 ต.สะเดียง อ.เมือง
Organization : จ.เพชรบูรณ์
keyword: หลักสูตรการศึกษา - - การพัฒนา
Classification :.DDC: 375
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ สาขาบริหารการศึกษาซึ่งเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรายวิชา ที่สอดคล้องกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งหมด 106 คน เป็นผู้อำนวยการสถานที่ศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 1 2 และ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ สาขาบริหารการศึกษา สามารถกำหนดรายวิชา เป็น 3 แนวทาง ดังนี้ 1. รายวิชากับความสามารถในการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 10 รายวิชา ดังนี้1 ) การจัดการความรู้ 2) หลักและแนวคิดทางการบริหารการศึกษา 3) การจัดการแนวทางเลือกใหม่ทางการศึกษา 4) ทฤษฎีพื้นฐานทางการศึกษา 5) การพัฒนาหลักสูตรและการสอน 6) องค์การและการจัดการ 7) ทฤษฎีพัฒนาประเทศอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 8) หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา 9 ) การบริหารงานวิชาการ และ 10) การจัดการเชิงกลยุทธ์ 2. รายวิชากับความต้องการของสังคม ประกอบด้วย 10 รายวิชา ดังนี้ 1) หลักและแนวคิดทางการบริหารการศึกษา 2) การพัฒนาหลักสูตรและการสอน 3) หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา 4) การวางแผนการศึกษา 5) การจัดการแนวทางเลือกใหม่ทางการศึกษา 6 ) นโยบายและการวางแผน 7) ความรู้พื้นฐานทางการศึกษา 8)ทฤษฎีพื้นฐานทางการศึกษา 9)ผู้นำทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตรและ 10) นโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น 3. รายวิชากับการนำไปปฏิบัติให้เกิดผลจริงได้ประกอบด้วย 10 รายวิชาดังนี้คือ 1) หลักและแนวคิดทางการบริหารการศึกษา 2) การวางแผนการศึกษา 3) การจัดการแนวทางเลือกใหม่ทางการศึกษา 4 ) การจัดการความรู้ 5) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 6) องค์การและการจัดการ 7)ความเป็นนักบริหารมืออาชีพ 8) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 9) การบริหารทรัพยากรบุคคลทางการศึกษา และ 10) สัมมนาทางการบริหารการศึกษา The purpose of this research was to study the development of competency based curriculum of Educational Administration. This study was a descriptive research. The researcher developed a questionnaire was used for collecting the opinion about the subjects which were accord with competency based curriculum development. The sample of the study consisted of 106 school administrators and vice administrators under the office of Phetchabun educational service area 1,2 and 3. The percentage was employed for the data analysis. The findings revealed that development of competency based curriculum of Educational Administration could set the subjects into three prospects as follows: 1. The relevance of subjects and occupational competence consisted of 10 subjects such as 1) Knowledge Management 2) Principle and Theorem of Educational Administration 3 ) Management of Educational Altermative Approach 4) Theoretical Foundation of Education 5)Curriculum and Instruction Development 6) Organization and Management 7)National Development Theories According to His Majesty’s Initiatives 8) Principles, Theories , and Practices of Educational Administration 9) Administration of Academic Affairs and 10) Strategic Management. 2. The relevance of subjects and social needs consisted of 10 subjects such as 1) Principle and Theorem of Education Administration 2) Curriculum and Instruction Development 3) Principles Theories and Practices of Educational Administration 4) Educational Planning 5) Management of Education Altemative Approach 6)Policy and planning 7) Knowledge Foundations of Education 8) Theoretical Foundation of Education 9) Instructional Leadership and Curriculum Development and 10 ) Educational policy and planning for Locality Development. 3. The relevance of subjects and practicality consisted of 10 subjects such as 1) Principle and Theorem of Education Administration2) Educational Planning 3) Management of Education Altemative Approach 4) Knowledge Management 5) Human Resource Development 6) Organization and Management 7) Professional Principal ship 8) Information Technology Management 9) Human Resource Management in Education and 10 ) Seminar in Educational Administration.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: เพชรบูรณ์
Email: library@pcru.ac.th
Role: ผู้ให้ทุนวิจัย
Created: 2553
Modified: 2555-06-29
Issued: 2554-11-30
งานวิจัย/Research report
application/octet-stream
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
keyword การบริหารวิชาการ
ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกับประสิทธิผล
THE RELATIONSHIP BETWEEN BEING A LEARNING ORGANIZATION IN SCHOOLS AND ADMINISTRATIVE EFFECTIVENESS OF
Name: นฤมล บุญพิมพ์
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้และประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน เปรียบเทียบระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน และหาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี จานวน 336 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1.โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี มีระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลาดับจากมากไปหาน้อย คือ มีการเรียนรู้เป็นทีม มีวิสัยทัศน์ร่วม มีการคิดเชิงระบบ มีตัวแบบจากภายใน และ มีสมาชิกที่มีความ เป็นเลิศ 2.โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี มีระดับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลาดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานวิชาการ 3. โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี ที่อยู่ต่างเขตพื้นที่การศึกษา มีระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน แตกต่างกัน 4. โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี ที่อยู่ต่างเขตพื้นที่การศึกษา มีระดับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน แตกต่างกัน 5. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Kanchanaburi Rajabhat University.
Address: KANCHANABURI
Email: tdc@kru.ac.th
Name: จุมพจน์ วนิชกุล
Issued: 2553
Modified: 2562-07-25
Issued: 2554-09-24
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/octet-stream
tha
DegreeName: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การบริหารการศึกษา
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
keyword การบริหารวิชาการ
บทบาทของผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการที่ปฏิบัติจริง และบทบาทที่คาดหวังตามแนวการปฏิรูป การศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี ตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
ACTUAL ROLES AND EXPECTED ROLES OF ASSISTANT SCHOOL ADMINISTRATORS FOR ACADEMIC AFFAIRS ACCORDING TO EDUCATIONAL REFORM CRITERIA IN BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI AS PERCEIVED BY SCHOOL ADMINISTRATORS, ASSISTANT SCHOOL ADMINISTRATORS FOR ACADEMIC AFFAIRS, AND HEADS OF LEARNING STRAND
Name: นิภา น้าแก้ว
keyword: กลุ่มสาระการเรียนรู้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการที่ปฏิบัติจริง และบทบาทที่คาดหวังตามแนวการปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการและครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เปรียบเทียบการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ต่อบทบาทของผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการที่ปฏิบัติจริงตามแนวการปฏิรูปการศึกษา เปรียบเทียบบทบาทของผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 1-2 เป็นหลักกับช่วงชั้นที่ 3-4 เป็นหลัก ตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จานวน 117 คน ผู้ช่วยผู้บริหาร ฝ่ายวิชาการ จานวน 117 คน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จานวน 243 คน ซึ่งปฏิบัติงานในสถาน ศึกษาที่มีผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ ในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2547 ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 477 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t – test และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย 1. บทบาทของผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการที่ปฏิบัติจริง และบทบาทที่คาดหวังตามแนวการปฏิรูป การศึกษา ในภาพรวมบทบาทที่ปฏิบัติจริงอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนากระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติต่าสุด คือ ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ภาพรวมบทบาทที่คาดหวังอยู่ในระดับมาก และในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลาดับคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านการวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน 2. บทบาทของผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการตามแนวการปฏิรูปการศึกษาที่ปฏิบัติจริงกับบทบาท ที่คาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการ เรียนรู้ ต่อบทบาทของผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการที่ปฏิบัติจริงตามแนวปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. บทบาทของผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการที่ปฏิบัติจริงตามแนวการปฏิรูปการศึกษาของสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 1-2 เป็นหลักกับสถานศึกษาที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 เป็นหลักในภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการแนะแนวการศึกษา และด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Kanchanaburi Rajabhat University.
Address: KANCHANABURI
Email: tdc@kru.ac.th
Name: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์
Issued: 2548
Modified: 2562-07-25
Issued: 2554-09-25
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/octet-stream
tha
DegreeName: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การบริหารการศึกษา
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น